วงจรความรุนแรงในครอบครัว (ที่พ่อแม่กับลูกมีต่อกัน)
อ.ปั้น – สถาบันปั้นคน – www.punkhon.com
Line : @puncenter
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรามักได้ยินว่าหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ คือ การสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี ซึ่งแต่ละครอบครัวก็มีวิธีการสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะปฏิเสธไม่ได้เลยคือ หากพ่อแม่พบว่าลูกมีการทำผิด หลายครอบครัวมักใช้วิธีการลงโทษลูก และการลงโทษของแต่ละครอบครัวนั้นก็มีวิธีที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดที่รุนแรงในการต่อว่า หรือตีลูก หรือ บางครั้งอาจลามไปถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
แต่ถ้าหากวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ ที่เราว่าลูก แล้วลูกใช้ความรุนแรงต่อสู้กลับ นี่อาจเป็นสัญญาณของการเกิดวงจรความรุนแรงในครอบครัว (ที่พ่อแม่กับลูกมีต่อกัน) โดยลักษณะของวงจรเป็นดังนี้
หากเมื่อไหร่ที่คุณว่าลูก ด้วยเสียงที่ไม่ดังและไม่ใช่คำที่รุนแรง แต่ต่อมาลูกอาจพูดกับคุณในเชิงไม่ดี โต้เถียง โต้แย้งกลับ
คุณก็เลยใช้คำพูดที่เสียงดังหรือคำพูดที่รุนแรง เมื่อลูกเห็น ดังนั้นลูกก็ใช้วิธีเสียงดัง หรือใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น
ต่อมาคุณก็เลยใช้วิธีการตีลูก ซึ่งลูกของคุณก็ใช้ความรุนแรงกลับ (อาจตีคุณกลับ ใช้กำลังผลักคุณ หรืออื่นๆ )
ทั้งหมดนี้เรียกว่า วงจรความรุนแรงในครอบครัว (ที่พ่อแม่กับลูกมีต่อกัน)
ดังนั้นถ้าเราเริ่มรู้สึกว่าวงจรนี้เกิดขึ้น ในจุดที่ว่าเราใช้เสียงดังกับลูกแล้วลูกเสียงดังกลับ ควรหาวิธีการอื่น ในการสอนลูก เพราะถ้าเรายังใช้วิธีเพิ่ม ความรุนแรงในการลงโทษลูก เช่น การตีลูกสักพักลูกก็จะตีเรากลับ แล้วความรุนแรงนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น จนอาจนำไปสู่เรื่องราวที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้นไปอีกก็เป็นได้
บทความของผม ไม่อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกรูปแบบ แต่อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือเด็ก-ผู้ใหญ่ทุกคน โดยไม่แบ่งแยกว่าเขาเหล่านั้นจะร่ำรวย หรือ ยากจนเพียงใดก็ตาม
” หมอรักษาผู้ป่วย ผู้ป่วยก็รักษาหมอเช่นกันนั้นคือ ผู้ป่วยก็รักษาความโลภในใจหมอ “